ประวัติของฉัน




ประวัติพระครูปลัดศักดิ์ มหาวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางเตย

แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม จังหวัดกรุงเทพมหานคร




๑. ชื่อ พระครูปลัดศักดิ์ ฉายา มหาวีโร อายุ ๔๗ พรรษา ๑๑ น.ธ.เอก วัดบางเตย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

     ๑.๑ ครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางเตย

     ๑.๒. ครูสอนจริยะธรรม โรงเรียนวัดบางเตย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๔ – พ.ศ. ๒๕๕๔ (ปัจจุบัน)

     ๑.๓ รองผู้อำนวยการศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบางเตย

     ๑.๔ เลขาเจ้าอาวาสวัดบางเตย



๒. สถานะเดิม ชื่อ นายศักดิ์ นามสกุล โกศลสุภวัฒน์ เกิดวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗

บิดาชื่อ นายสุบิน แซ่ตั้ง มารดาชื่อ นางสังวาล แซ่ตั้ง

ณ บ้านเลขที่ ๓๕๕/๑-๒ หมู่ ๖ บ้านบุ่ง ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัด อำนาจเจริญ



๓. อุปสมบท วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ วัดบางเตย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

พระอุปัชฌาย์

     พระปฏิเวทวิศิษฎ์ วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

พระกรรมวาจาจารย์

     พระอาจารย์ธีรพงษ์ จตฺตภโย วัดบางเตย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

พระอนุสาวนาจารย์

     พระอาจารย์นวย อิสฺสโร วัดบางเตย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร



๔. วิทยฐานะ

     ๑. พ.ศ. ๒๕๒๕ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนแม้นศรีวิทยา

     ๒. พ.ศ. ๒๕๒๙ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส) แผนกการบัญชี

     ๓. พ.ศ. ๒๕๔๕ สอบได้ นธ.เอก สำนักเรียนคณะเขตลาดพร้าว - บึงกุ่ม

     ๔. พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการอบรมความรู้ตามโครงการอบรมพระธรรมวิทยากรสอนสาระการเรียนรู้    พระพุทธศาสนา

     ๕. ความชำนาญการ งานด้านบัญชี งานด้านการศาสนศึกษาและด้านการเงิน



๕. งานปกครอง

     ๕.๑ สอนนักธรรมในวัด

       - พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระภิกษุจำพรรษา ๔๑ รูป

       - พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระภิกษุจำพรรษา ๔๐ รูป

       - พ.ศ. ๒๕๕๑ มีพระภิกษุจำพรรษา ๓๖ รูป

       - พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพระภิกษุจำพรรษา ๓๔ รูป

       - พ.ศ. ๒๕๕๓ มีพระภิกษุจำพรรษา ๔๐ รูป


     ๕.๒ การทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น เป็นกิจวัตรประจำวัน คือการทำวัตรเช้า เวลา ๐๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น เวลา ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน

     ๕.๓ มีการทำอุโบสถกรรม (สวดพระปาติโมกข์) เป็นประจำทุกกึ่งเดือนตลอดทั้งปี ถ้ารูปใดขาดจะต้องบอกลากล่าวคือจะต้องขออนุญาตทุกครั้ง ปัจจุบันมีพระภิกษุสวดปาติโมกข์ จำนวน ๓ รูป

     ๕.๔ มีระเบียบข้อบังคับและกติกาการปกครองของวัดมี ดังนี้

        - พระภิกษุ – สามเณร ต้องออกบิณฑบาตทุกวัน

        - ต้องทำวัตรเช้า-เย็นทุกวัน

        - ต้องลงฉันอาหารที่ศาลาหอฉันทุกรูป

        - ทุกวันโกน พระภิกษุสงฆ์ต้องลงมาช่วยกันจัดอาสนะและทำความสะอาดศาลาการ

เปรียญ

        - ต้องลงอุโบสถ (ฟังพระปาติโมกข์) ทุกวันอุโบสถ

        - ต้องเรียนนักธรรม ทุกวัน ในเทศกาลจำนำพรรษา (เว้นวันพระ)

        - ห้ามก่อการทะเลาะวิวาทโดยเด็ดขาด

        - ต้องขึ้นศาลาการเปรียญในวันธัมมัสสวนะ (วันพระ) เวลา ๐๘.๓๐ น.

        - ต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณะสารูปทั้งในและนอกเขตวัด

        - ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัดและหน้ากุฏิเป็นประจำทุกวัน

        -ไม่กระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมายของบ้านเมือง



๖. งานการศึกษา

       - พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นผู้ช่วยสอนวิชาจริยโรงเรียนวัดบางเตยถึงปัจจุบัน

       - พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นครูพระสอนนักธรรมของวัดบางเตย มาจนถึงปัจจุบัน

       - พ.ศ.๒๕๔๗ สอนนักเรียนแผนกธรรมศึกษาวัดบางเตย มาจนถึงปัจจุบัน

       - พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับตราตั้งครูสอนปริยัติธรรมวัดบางเตย



     พ.ศ.๒๕๔๙ มีนักเรียนแผนกธรรมและธรรมศึกษา ดังนี้

           น.ธ. ตรี สมัครสอบ ๑๙ รูป สอบได้ ๘ รูป สอบตก ๑๑ รูป

           น.ธ.โท สมัครสอบ ๙ รูป สอบได้ ๒ รูป สอบตก ๗ รูป

           น.ธ. เอก สมัครสอบ ๕ รูป สอบได้ รูป สอบตก ๕รูป

           ธรรมศึกษา ตรี สมัครสอบ ๑๖๕ คน สอบได้ ๙๘ คน สอบตก ๖๗ คน

           ธรรมศึกษา โท สมัครสอบ ๖๐ คน สอบได้ ๒๕ คน สอบตก ๓๕ คน

           ธรรมศึกษา เอก สมัครสอบ ๒๕ คน สอบได้ ๑๔ คน สอบตก ๑๑ คน

     พ.ศ.๒๕๕๐ มีนักเรียนแผนกธรรมและธรรมศึกษา ดังนี้

          น.ธ. ตรี สมัครสอบ ๑๑ รูป สอบได้ ๘รูป สอบตก ๓ รูป

          น.ธ. โท สมัครสอบ ๖ รูป สอบได้ รูป สอบตก ๖รูป

          น.ธ.เอก สมัครสอบ ๖ รูป สอบได้ ๑ รูป สอบตก ๕รูป

          ธรรมศึกษาตรี สมัครสอบ ๘๗๗ คน สอบได้ ๔๒๑ คน สอบตก ๔๕๖ คน

          ธรรมศึกษาโท สมัครสอบ ๘๔ คน สอบได้ ๔๖ คน สอบตก ๓๘ คน

          ธรรมศึกษาเอก สมัครสอบ ๑๒ คน สอบได้ ๑๑ คน สอบตก ๑ คน

    พ.ศ.๒๕๕๑ มีนักเรียนแผนกธรรมและธรรมศึกษา ดังนี้

          น.ธ. ตรี สมัครสอบ ๑๓ รูป สอบได้ ๖ รูป สอบตก ๗ รูป

          น.ธ. โท สมัครสอบ ๔ รูป สอบได้ ๒ รูป สอบตก ๒ รูป

          น.ธ. เอก สมัครสอบ ๔ รูป สอบได้ - รูป สอบตก ๔ รูป

          ธรรมศึกษา ตรี สมัครสอบ ๑,๖๘๕ คน สอบได้ ๘๒๓ คน สอบตก ๘๖๒ คน

          ธรรมศึกษา โท สมัครสอบ ๒๕๖ คน สอบได้ ๒๐๐ คน สอบตก ๕๖ คน

          ธรรมศึกษา เอก สมัครสอบ ๒๐ คน สอบได้ ๖ คน สอบตก ๑๔ คน

    พ.ศ.๒๕๕๒ มีนักเรียนแผนกธรรมและธรรมศึกษา ดังนี้

          น.ธ. ตรี สมัครสอบ ๙ รูป สอบได้ ๖ รูปสอบตก ๓ รูป

          น.ธ. โท สมัครสอบ ๙ รูป สอบได้ ๙ รูป สอบตก - รูป

          น.ธ. เอก สมัครสอบ ๖ รูป สอบได้ ๓ รูป สอบตก ๓ รูป

          ธรรมศึกษา ตรี สมัครสอบ ๑,๒๙๙ คนสอบได้ ๕๖๔ คน สอบตก ๗๓๕ คน

          ธรรมศึกษา โท สมัครสอบ ๕๘๖ คนสอบได้ ๓๕๐ คน สอบตก ๒๓๖ คน

          ธรรมศึกษา เอก สมัครสอบ ๗๒ คนสอบได้ ๕๔ คน สอบตก ๑๘ คน

    พ.ศ.๒๕๕๓ มีนักเรียนแผนกธรรมและธรรมศึกษา ดังนี้

          น.ธ. ตรี สมัครสอบ ๑๘ รูป สอบได้ ๑๑ รูป สอบตก ๗ รูป

          น.ธ. โท สมัครสอบ ๑ รูป สอบได้ - รูป สอบตก ๑ รูป

          น.ธ. เอก สมัครสอบ ๗ รูป สอบได้ ๕ รูป สอบตก ๒ รูป

          ธรรมศึกษา ตรี สมัครสอบ ๒,๐๔๒ คน สอบได้ ๑,๒๐๔ คน สอบตก ๘๓๘ คน

          ธรรมศึกษา โท สมัครสอบ ๔๖๖ คนสอบได้ ๒๑๐ คน สอบตก ๒๕๖ คน

          ธรรมศึกษา เอก สมัครสอบ ๑๒๐ คน สอบได้ ๑๑๕ คน สอบตก ๕ คน



๗. มีวิธีส่งเสริมการศึกษา ของสำนักศาสนศึกษาวัดบางเตย และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์วัดบางเตย

         - เปิดสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ตั้แต่ชั้นนวกะภูมิและธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก จัดหนังสือ

ตำราให้กับพระภิกษุ – สามเณร และอุปกรณ์ การเรียนการสอนที่จำเป็นถวายนักเรียนและครูสอน

อย่างเพียงพอ (ฟรีทุกรูป)

        - ให้รางวัลแก่พระภิกษุ – สามเณรที่สอบได้ มีปัจจัยและผ้าจีวรพอเหมาะพอสมควรแก่สมณะสารูป

        - จัดหาผู้อุปถัมภ์นักเรียน คอยสนับสนุน ให้นักเรียนเกิดความอบอุ่นใจมีกำลังใจในการที่จะศึกษา

เล่าเรียนได้อย่างสะดวก



๘. งานศึกษาสงเคราะห์ชั้นประถมศึกษา

     จัดตั้งกองทุนการศึกษาสงเคราะห์แก่นักเรียน ในระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดบางเตย

             ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ให้ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท จำนวน ๑๕ ทุน จำนวนเงิน ๗,๕๐๐ บาท
             ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท จำนวน ๑๐ ทุน จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท
             ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท จำนวน ๑๐ ทุน จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท
             ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท จำนวน ๕ ทุน จำนวนเงิน ๒,๕๐๐ บาท


๙. งานเผยแผ่

            (๑) เป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน

            (๒) บรรยายธรรมแก่สามเณรภาคฤดูร้อนทุก ๆ ปี

            (๓) ส่งเสริมกิจกรรมวันมาฆบูชา มีการทำบุญตักบาตร แสดงธรรม นั่งกรรมฐาน จัดบวช

            เนกขัมมะจาริณี ทุกปี เวลา ๑๙.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรและประชาชนมาร่วม พิธีเวียนเทียน

            ส่งเสริมกิจกรรมวันวิสาขบูชา มีการทำบุญตักบาตร จัดเทศน์มหาชาติ นั่งกรรมฐาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น